
หมวดที่ 3 สมาชิกและสมาชิกภาพ หมวดที่ 4 ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุง
หมวดที่ 5 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก หมวดที่ 6 คณะกรรมการของสมาคม
หมวดที่ 7 จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ หมวดที่ 8 การลงโทษสมาชิก
หมวดที่ 9 การประชุมใหญ่ หมวดที่ 10 การเงินการบัญชีของสมาคม
หมวดที่ 11 การแก้ไขข้อบังคับ การเลิกสมาคม และการชำระบัญชี หมวดที่ 12 บทเฉพาะกาล
ข้อ 1. สมาคมนี้มีชื่อว่า "สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย"
เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "แอสโซซิเอชั่น ออฟ ไทย เซคคิวริตี้ คอมพานีส์"
เขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Association of Thai Securities Companies"
คำว่า "สมาคม" ต่อไปในข้อบังคับนี้ให้หมายถึง "สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย"
คำว่า "คณะกรรมการ" ต่อไปในข้อบังคับนี้ให้หมายถึง "คณะกรรมการของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย"
ข้อ 2. สำนักงานของสมาคมนี้ตั้งอยู่ ณ อาคารชุดเลครัชดาออฟฟิศคอมเพล็กซ์ 2 ชั้น 5
เลขที่ 195/6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
ข้อ 3. ตราของสมาคมเป็นเครื่องหมาย
ข้อ 12. สมาชิกต้องชำระค่าลงทะเบียนสมาชิกแรกเข้าและค่าบำรุงรายปี ตามที่ประชุมใหญ่ลงมติกำหนดจำนวนเงินในการเรียกเก็บจากสมาชิก
โดยชำระภายในเดือนมกราคมของทุกปี
และไม่ถือเป็นกรรมการตามข้อ 15.1 ที่ต้องจดทะเบียนตามข้อ 21 แต่ทุกคราวที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการสมทบ
ให้มีหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลงกรรมการนั้น ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เพื่อทราบโดยไม่ชักช้า
มิให้นำความในข้อ 16 ข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 22 และข้อ 23 มาใช้บังคับกับกรรมการสมทบ
ข้อ 30. ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นงวดปีการบัญชีของสมาคม
คณะกรรมการจะเรียกประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้ตามที่เห็นสมควร หรือเมื่อมีสมาชิกไม่น้อยกว่าสิบราย
ร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรให้เรียกประชุม โดยอาจจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามเงื่อนไข ขั้นตอน และวิธีการที่กฏหมายกำหนด
ข้อ 31. ให้ส่งหนังสือบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่สามัญและวิสามัญไปยังสมาชิกให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อน
วันประชุม พร้อมกับแจ้งให้ทราบว่าเรียกประชุมเพื่อการใด
ข้อ 32. ในวันประชุม ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะครบเป็นองค์ประชุม
ในกรณีการประชุมวิสามัญเพราะเหตุที่มีสมาชิกเป็นผู้ร้องขอ จะต้องมีสมาชิกมาประชุมเป็นจำนวนไม่น้อย
กว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะครบเป็นองค์ประชุม
ข้อ 33. การประชุมใหญ่ที่ได้นัดเรียกประชุม ณ วันและเวลาใด หากล่วงพ้นกำหนดนัดแล้วหนึ่งชั่วโมง ยังมีสมาชิกมา
ไม่ครบองค์ประชุม ถ้าการประชุมใหญ่คราวนั้นได้เรียกนัดเพราะสมาชิกร้องขอ ให้ยกเลิกการประชุมโดย
ไม่ต้องเรียกประชุมตามที่ร้องขออีก ถ้ามิใช่เพราะสมาชิกร้องขอ ให้เลื่อนการประชุมคราวนั้นไป และให้ทำการ
บอกกล่าวนัดประชุมอีกครั้งหนึ่ง ภายในกำหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่วันนัดประชุมใหญ่คราวแรก และในการประชุมคราวหลังนี้
มีสมาชิกมาประชุมมากน้อยเพียงใดก็ให้ถือเป็นองค์ประชุม
ข้อ 34. ให้นายกสมาคมเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่
ข้อ 35. กิจการที่พึงกระทำในที่ประชุมใหญ่สามัญ ได้แก่
35.1 รับรองรายงานการประชุมใหญ่คราวก่อน
35.2 คณะกรรมการรายงานผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา
35.3 พิจารณาอนุมัติงบดุล และบัญชีรายได้รายจ่ายของสมาคม
35.4 พิจารณาเลือกตั้งนายกสมาคมและกรรมการของสมาคม (ถ้ามี)
35.5 พิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของสมาคม และกำหนดค่าตอบแทน
35.6 พิจารณาเรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ข้อ 36. ให้ที่ประชุมใหญ่วิสามัญปรึกษากิจการได้เฉพาะหัวข้อที่ระบุไว้ในหนังสือบอกกล่าวนัดประชุมเท่านั้น จะปรึกษา
กิจการอื่นอันใดมิได้
ข้อ 37. เว้นแต่มีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การลงมติในที่ประชุมใหญ่ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกซึ่งมาประชุม
และออกเสียงลงคะแนน โดยให้ถือว่าสมาชิกแต่ละรายมีคะแนนเสียงเป็นหนึ่งเสียง ไม่ว่าจะเป็นการลงคะแนน
โดยวิธีลับหรือวิธีเปิดเผย ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 38. ให้คณะกรรมการจัดทำงบดุลและบัญชีรายได้รายจ่ายปีละ 1 ครั้ง แล้วส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในเวลา
ไม่เกินเดือนมกราคมของปีถัดไป โดยให้ถือเอาวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ้นรอบปีการบัญชีของสมาคม
ข้อ 39. ให้คณะกรรมการจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินกิจการของสมาคมรอบปีที่ผ่านมา เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญ
ข้อ 40. ผู้สอบบัญชีซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งมีอำนาจเข้าตรวจสอบสมุดบัญชี และบรรดาเอกสารเกี่ยวกับการเงินของสมาคม
และมีสิทธิสอบถามกรรมการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสมาคมทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบัญชีและเอกสารดังกล่าว
ในการนี้กรรมการและเจ้าหน้าที่จะต้องช่วยเหลือและให้ความสะดวกทุกประการเพื่อตรวจสอบ เช่นว่านั้น
ข้อ 41. สมุดบัญชีและเอกสารการเงินของสมาคมจะต้องเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานของสมาคม และให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ
ของเหรัญญิกของสมาคมหรือผู้ที่คณะกรรมการได้มอบหมาย
ข้อ 42. เงินสดของสมาคมจะต้องนำฝากไว้ ณ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน หรือการลงทุน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้อง
ที่จังหวัด ที่สมาคมตั้งอยู่ในนามของสมาคม โดยความเห็นชอบของที่ประชุมคณะกรรมการ การบริหารเงินสด
การฝากและการถอนเงินของสมาคมให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
กรณีคณะกรรมการยังไม่ได้กำหนดและให้ความเห็นชอบการเงินและการบัญชีของสมาคม ให้นายกสมาคม
อุปนายก เหรัญญิก หรือเลขาธิการสองในสี่คนลงนามร่วมกันในการสั่งจ่ายเงินเกี่ยวกับกิจการสมาคม